เมล็ดมะละกอพันธุ์ต่างๆ ส้มตำ แขกนวล แขกดำ เรดเลดี้ ฮอลแลนด์ ฟรีแลนด์ ทองสว่าง
เมล็ดพันธุ์มะละกอ (Papaya)
คัดสรรมาหลายสายพันธุ์ รับประกันความงอก
1. มะละกอ แขกดำ
1.1 มะละกอ แขกดำ ตรา กำไลทอง
จำนวน 20 เมล็ด
แหล่งรวบรวม : ประเทศไทย
1.2 มะละกอ แขกดำ ตรา กบดำกบแดง
“ปลูกง่าย โตไว ผลยาวใหญ่ ให้ผลผลิตดี
– แบบซอง 0.20 กรัม จำนวน 10 เมล็ด
– แบบซองใหญ่ 1 กรัม จำนวน 50 เมล็ด
แหล่งรวบรวม : ประเทศไทย
1.3 มะละกอ แขกดำ ตรา ปลาวาฬ
มะละกอ แขกดำ เบอร์ 1
“ผลใหญ่ ทรงสวย ดก เนื้อสีส้ม หวาน อร่อย”
จำนวน 20 เมล็ด
แหล่งรวบรวม : ประเทศไทย
2. มะละกอแขกนวล
2.1 มะละกอแขกนวล (Khagnuan Papaya)
ตำส้มตำอร่อย
เนื้อหนา กรอบ อร่อย
จำนวน 10 เมล็ด
2.2 มะละกอแขกนวล พันธุ์ส้มตำ F1 ตรา ศรแดง
3. มะละกอ เรด เลดี้ 786 (Red Lady 786) รับประทานดิบและสุก
ลักษณะผลรี เนื้อสีแดง ผิวเปลือกสีเขียวสด สุกสีส้ม รสหวาน ความหวานประมาณ 13 บริกซ์ ให้ผลผลิตเร็ว ต้านทานโรคใบจุดวงแหวนได้ดี ทนทานต่อการขนส่ง
น้ำหนักผล 1.5-2.0 กิโลกรัม อายุการเก็บเกี่ยว 8-10 เดือน หลังหยอดเมล็ด
ตรา ดอกแตง (บ.เพื่อนเกษตร)
จำนวน 7 เมล็ด
แหล่งรวบรวม : ไต้หวัน
4. มะละกอ ฟรีแลนด์ ทีเอ 151 (Free Land TA151)
มะละกอลูกผสม ลำต้นสูงประมาณ 1.5 เมตร ให้ผลผลิตเร็ว ติดผลดก ผลทรงกระบอก เนื้อแน่น หนา สีส้มอมแดง ผิวเปลือกหนา ทนต่อการขนส่งได้ดี น้ำหนักผลประมาณ 1.5-2.0 กิโลกรัม ความหวานประมาณ 12 บริกซ์
ตรา ดอกแตง (บ.เพื่อนเกษตรกร)
จำนวน 20 เมล็ด
แหล่งรวบรวม : ไทย
5. มะละกอ ฮอลแลนด์ (Holland)
5.1 มะละกอ ฮอลแลนด์ (Holland) ตราเครื่องบิน (บ.เจียไต๋)
” ติดผลดก เนื้อหนา ทรงกระบอกคล้ายฟัก เนื้อสีแดงอมส้ม เนื้อไม่เละ”
จำนวน 15 เมล็ด
แหล่งรวบรวม : ไทย
5.2 มะละกอ ฮอลแลนด์ เอ 1 พันธุ์คัดพิเศษ ตรา กำไลทอง
“เป็นพันธุ์ของศูนย์วิจัยพืชผักฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีใบรับรองปลอด GMO”
จำนวน 5 เมล็ด
5.3 มะละกอ ฮอลแลนด์ เบอร์ 1 พันธุ์คัดพิเศษ ตรา ปลาวาฬ
“เป็นพันธุ์ของศูนย์วิจัยพืชผักฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีใบรับรองปลอด GMO”
จำนวน 5 เมล็ด
5.4 มะละกอ ฮอลแลนด์ (Holland) พันธุ์อัศวินแดง ตรา กบดำกบแดง
“ผลดก เนื้อหนา สีแดงอมส้ม อร่อย”
– แบบซอง 0.20 กรัม จำนวน 10 เมล็ด
– แบบซองใหญ่ 1 กรัม จำนวน 50 เมล็ด
5.5 มะละกอ ฮอนแลนด์
เนื้อสีแดง ให้ผลผลิตเร็ว ต้านทานโรคใบจุดวงแหวนจากไวรัสได้ดี น้ำหนัก 1.0-1.2 กิโลกรัม อายุการเก็บเกี่ยว 8-9 เดือนหลังหยอดเมล็ด
จำนวน 30 เมล็ด
น้ำหนัก 0.5 กรัม
6.มะละกอทองสว่าง (Gold star papaya)
เปลือกและเนื้อสีเหลืองทอง รสชาติดี
จำนวน 10 เมล็ด
อัตราความงอกร้อยละ 70
วิธีเพาะกล้า
การเพาะเมล็ดลงในกระบะทราย วิธีการโดยเตรียมกระบะไม้หรือกระบะพลาสติค ขนาด 40x60x10 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) ที่มีรูระบายน้ำด้านล่าง รองด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หนึ่งชั้น ใส่ทราย (ทรายก่อสร้างที่ร่อนเอาเศษหินและไม้ออกแล้ว) ความหนา ประมาณ 2-3 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม ทำร่องลึก 1 เซนติเมตร ห่างกันแถวละ 5 เซนติเมตร โรยเมล็ดลงไป (เมล็ดควรจะคลุมด้วยยาออร์โธไซด์) จากนั้นกลบร่อง ใช้เศษฟางข้าวที่สะอาดปิดคลุมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม หลังจากเมล็ดเริ่มงอก 3-5 วัน ให้รีบเอาฟางข้าวออก หลังจากหยอดเมล็ดได้ 10-14 วัน ต้นกล้ามีใบเลี้ยง 2 ใบ ให้ถอนย้ายลงปลูกในถุงดินหรือในถาดเพาะต่อไป การรดน้ำในช่วงการเพาะเมล็ดนี้จำเป็นต้องใช้บัวที่มีฝอยละเอียด และรดทุกวันอย่าให้ทรายแห้งเป็นอันขาด
การย้ายกล้าทำได้ 2 วิธีคือ การย้ายกล้าลงในถุงดิน(ถุงเพาะชำ) และการย้ายกล้าลงในถาดเพาะกล้า
วิธีที่ 1 การย้ายกล้าลงในถุงดิน
การย้ายกล้าลงในถุงดิน ให้เตรียมถุงดินโดยใช้ถุงพลาสติค ขนาด 4×4 นิ้ว หรือ 4×6 นิ้ว เจาะรูตรงมุมด้านล่างทั้ง 2 ข้าง เพื่อระบายน้ำ ดินผสมที่ใช้ประกอบด้วย ดิน 3 ปุ้งกี๋ ขี้วัวเก่า 1 ปุ้งกี๋ ปุ๋ยสูตร 0-46-0 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันและกรอกลงในถุงดิน นำถุงดินไปวางเรียงบนแปลงขนาดกว้าง 1.2 เมตร (เรียงได้ 10-15 ถุง) เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและการคลุมต้นกล้า เพื่อป้องกันแสงแดดและฝน จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม นำต้นกล้ามะละกอที่ถอนจากกระบะทรายลงปลูกถุงละ 1 ต้น การย้ายกล้าควรกระทำในตอนเย็นหรือขณะที่แสงแดดน้อย หลังการย้ายกล้าให้รดน้ำตามอีกหนึ่งรอบ ทำหลังคาคลุมด้วยวัสดุที่พลางแสง ทิ้งไว้ 3-4 วัน พอต้นกล้าเริ่มติดและตั้งตัวแข็งแรงก็เริ่มเปิดที่พลางแสงออก แต่ทุกเย็นหรือขณะฝนตกต้องคลุมแปลงกล้าด้วยพลาสติกใสเพื่อป้องกันฝน ควรรดน้ำต้นกล้าทุกวัน และฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชเมื่อแมลงมารบกวน ประมาณ 25-30 วัน ก็สามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงได้
วิธีที่ 2 การย้ายกล้าลงในถาดเพาะกล้า
ให้ใช้ถาดเพาะกล้าพลาสติกสีดำ ที่มีจำนวน 104 หลุม ใส่มีเดีย (วัสดุใช้แทนดิน) ลงให้เต็มช่องหลุมแล้วปรับให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม นำต้นกล้าที่ถอนออกจากกระบะทรายลงปลูกให้เต็มถาดเพาะ จะเห็นว่าวิธีการใช้ถาดเพาะกล้านี้ง่ายและสะดวก สามารถทำในที่ร่มและเก็บไว้ในที่ร่ม 3-4 วัน แล้วจึงย้ายไปวางเรียงในแปลงกลางแจ้งและทำหลังคาคลุมพลาสติคเพื่อป้องกันฝนตก ดูแลเหมือนวิธีแรก ประมาณ 25-30 วัน ก็สามารถย้ายลงปลูกได้ วิธีนี้จะช่วยในการขนย้ายต้นกล้าไปยังแปลงปลูกได้สะดวกกว่า
ทีมา: คู่มือการปลูกมะละกอโดยบริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด
#มะละกอ #papaya #seed #fruit #ผลไม้ #เบต้าแคโรทีน