เมล็ดพันธุ์ ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดอ่อน 20 เมล็ด [10 แถม 1 คละได้]
ฤดูปลูกข้าวโพดฝักอ่อน :
– ปลูกได้ตลอดทั้งปีถ้ามีการจัดการดินและน้ำอย่างเหมาะสม
– ข้าวโพดฝักอ่อนใช้เวลาตั้งแต่การปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 43-54 วัน และช่วงเวลาเก็บเกี่ยว 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ จึงสามารถปลูกได้ 4-5 ครั้งต่อปี
– เพื่อให้ได้ผลผลิตฝักอ่อนออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จำเป็นต้องวางแผนการปลูกที่เหมาะสม
การเตรียมดินปลูกข้าวโพดฝักอ่อน :
– ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร และตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผาลเจ็ด 1 ครั้ง ปรับระดับดินให้สม่ำเสมอ แล้วคราดเก็บเศษซากราก เหง้า หัว ไหล ของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
การวิเคราะห์ดินก่อนปลูก :
– ถ้าดินมีค่าความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5ให้หว่านปูนขาวอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ
– ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 ก่อนพรวนดินให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่
วิธีการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน :
– ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูงกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 4.5-6.0 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้จำนวนต้นที่เหมาะสม 18,000 20,000 ต้นต่อไร่
– ปลูกในนาหรือสภาพไร่ ปลูกเป็นแถวคู่ยกร่องสูง 30-40 เซนติเมตร ระยะระหว่างสันร่อง 100-125 เซนติเมตร หยอดเมล็ด
– ข้างร่องทั้งสองข้างแบบสลับฟันปลา ระยะระหว่างหลุม 25-30 เซนติเมตร จำนวน 2-3 เมล็ดต่อหลุม เมื่อข้าวโพดฝักอ่อนอายุ ประมาณ 14 วัน ถอนแยกให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุม
– ปลูกบนร่องสวน ให้ปลูกเป็นหลุม ระยะปลูก 50×50 เซนติเมตร จำนวน 3-4 เมล็ดต่อหลุม เมื่อข้าวโพดฝักอ่อนอายุประมาณ 14 วัน ถอนแยกให้เหลือ3 ต้นต่อหลุม
การดูแลรักษาข้าวโพดฝักอ่อน :
1. การให้ปุ๋ยข้าวโพดฝักอ่อน
– ถ้าดินมีอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่าตามที่ระบุในข้อ 1.2 ก่อนหยอดเมล็ด ให้รองก้นหลุม
– ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 สำหรับดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทราย และสูตร 15-15-15 สำหรับดินร่วนปนทราย อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
– เมื่อข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่
– โดยโรยข้างต้นหรือข้างแถว แล้วพรวนกลบ
2. การให้น้ำ
– ให้น้ำทันทีหลังปลูก และหลังการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง หลังจากนั้นให้น้ำตามร่องปลูก ทุก 7-10 วัน
– ถ้าใบข้าวโพดฝักอ่อนเหี่ยวหรือม้วนในช่วงเช้าหรือเย็น แสดงว่าขาดน้ำ ต้องให้น้ำทันที
– ต้องไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงนานเกิน 24 ชั่วโมง เพราะข้าวโพดฝักอ่อนจะชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและอาจตายได้
3. การถอดช่อดอกตัวผู้
– เมื่อข้าวโพดฝักอ่อนเริ่มออกดอกตัวผู้ ให้ดึงช่อดอกตัวผู้ออกจะทำให้ฝักอ่อนเจริญเติบโตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น
– หลังดึงช่อดอกตัวผู้ทิ้งประมาณ 2-5 วัน จะเริ่มเก็บเกี่ยวฝักแรกได้
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว :
– **หลังเก็บเกี่ยวให้รีบนำข้าวโพดฝักอ่อนเข้าที่ร่ม เพื่อไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง
– ไม่ควรกองข้าวโพดฝักอ่อนสูงเกินไป ควรมีการถ่ายเทอากาศภายในกอง เช่นใช้ลังไม้วางใต้กองข้าวโพดฝักอ่อน เป็นต้น
– สถานที่ปฏิบัติงาน ปอกเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนควรยกพื้นสูง เพื่อสะดวกต่อการทำงาน การดูแลความสะอาด และป้องกันการปนเปื้อน
– อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น มีด และภาชนะบรรจุข้าวโพดฝักอ่อนที่ปอกเปลือกแล้วต้องสะอาด และมีขนาดเหมาะสม
#ข้าวโพดฝักอ่อน #ฟิลเลย์ ไอซ์เบิร์ก #fillie iceburg #ผักสลัด #เมล็ดดอกซัลเวียม่วง #พริกผี #พริกพิโรธ #ปลูก #ปลูกดอกไม้ #ดอกซัลเวียม่วง #เมล็ดพันธุ์ #ปลูกง่าย #ไม้ดอก