อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

ผมอ่านผลงานวิจารณ์วรรณกรรมของท่านอาจารย์ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์แล้วทำให้ “ตาสว่าง” ทั้งต่อชิ้นงานวรรณกรรมและต่อปรากฎการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นรอบตัว โดยมองเลยไปจากเจตนาของผู้เขียนชิ้นงานวรรณกรรม เกิดความหมายใหม่ที่ทำให้วรรณกรรมดีๆ ไม่เคย “ตาย” เสียที

หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นเพียงตำราที่ขาดไม่ได้สำหรับนักเรียนวรรณกรรมไทยเท่านั้น แต่เป็นหนังสือที่คนทั่วไปควรอ่าน ซึ่งจะเปิดโลกใหม่ของการอ่านวรรณกรรม จนทำให้วรรณกรรมหลายชิ้นนั้นอ่านแล้วอ่านอีกได้ __ นิธิ เอียวศรีวงศ์

การอ่านใหม่หรืออ่านซ้ำจึงเป็นมากกว่าการหวนกลับไปอ่านเรื่องที่เคยอ่านมาแล้ว การอ่านใหม่คือปฏิบัติการขัดขืนเรื่องเล่าแม่บทที่กำกับความหมายและเรื่องที่เราอ่าน คือการเปิดรับความเป็นพหุลักษณ์ของตัวบท และเป็นการทวีคูณความแตกต่างหลากหลายของความหมายทั้งนี้เพื่อปลดปล่อยหนังสือและความหมายจากอำนาจผูกขาดของเรื่องเล่าแม่บท ดังที่บาร์ตส์ได้เสนอว่า การอ่านใหม่นั้นมิใช่เพื่อเข้าถึงตัวบทที่เป็นอยู่ แต่เพื่อเข้าถึง “พหุลักษณ์ของตัวบท : ตัวบทเดิมและตัวบทใหม่” __ ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์

การคัดเลือกบทความจากคอลัมน์ “อ่านใหม่” ในวารสาร อ่าน มารวมเป็นเล่มในที่นี้จึงเลือกคัดเฉพาะบทความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องเมืองและชนบทในวรรณกรรมยุคต่างๆ ตั้งแต่ช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 จนถึงยุคพฤษภาทมิฬ 2535 ในการนี้ได้นำ บทความอีกสองชิ้นที่เคยตีพิมพ์ในที่อื่น คือ “25 ปี คำพิพากษา กับคำอุทธรณ์ของสมทรง” และ “เหมือนอย่างไม่เคย … มีแต่พวกมัน : จากวิทยากร เชียงกูล ถึง วัน ณ จันทร์ธาร” มารวมไว้ด้วย เพื่อให้ครอบคลุมยุคต่างๆของวรรณกรรมที่เกี่ยวกับเมืองและชนบท โดยเริ่มจากนวนิยาย แผลเก่า ของไม้ เมืองเดิม ที่คนบางกอกรุกเข้าไปในพื้นที่ชนบท จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมของขวัญและเรียม และมาสิ้นสุดด้วยเรื่องสั้น “มีแต่พวกมัน” ของวัน ณ จันทร์ธาร พร้อมภาพชวนหลอกหลอนตอนท้ายเรื่อง หลังจากที่สามารถขับไสไล่ส่งเคน เด็กหนุ่มบ้านนอกที่เธอเคยสนิทสนมด้วยสมัยไปออกค่ายชนบท ธิติมาสาวกรุงเทพฯก็เกิดความหวาดระแวงตลอดเวลาว่าจะถูกตามรังควานจาก “พวกมัน” เพราะใน “ทุกซอกทุกมุมเหมือนมีแต่พวกมันอยู่เต็มไปหมด เพิงขายส้มตำ รถเข็นโรตี วงหมากรุกหน้าอู่ ป้ายรถเมล์ วินมอเตอร์ไซค์ คิวรถสองแถว วงตะกร้อ สวนหย่อม วงเวียน ร้านขายผัก ทุกโค้งทุกแยกทุกแห่งทุกหน” อันเป็นภาพหลอนที่กลายเป็นจริงจนน่าขนลุกหลังการรัฐประหาร 2549

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)
อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)
อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)
อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย (ปกอ่อน)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *