หนังสือ เขื่อนกั้นแปซิฟิก, ลาม็องต์ (L’amant), มาร์เกอริต ดูราส, อ่าน๑๐๑, วรรณกรรม , เรื่องสั้น
รายละเอียด : เขื่อนกั้นแปซิฟิก
มาร์เกอริต ดูราส เขียน Un barrage contre le Pacifique ในปี ค.ศ. 1950 โดยใช้ประสบการณ์ตรงในอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่ซึ่งเธอเคยดำรงชีวิตเมื่อเยาว์วัยมาบอกเล่าเรื่องราวของครอบครัวชาวฝรั่งเศสที่ย้ายมาลงหลักปักฐานยังดินแดนกัมพูชา ชีวิตลำเค็ญเริ่มขึ้นเมื่อสามีเสียชีวิตไป ภรรยาหม้ายกับลูกชายและลูกสาวต้องต่อกรกับเล่ห์กลของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งพยายามจะยึดที่ดินในเขตสัมปทานคืนไป
นวนิยายเด่นของดูราสที่วิพากษ์เจ้าอาณานิคมอย่างถึงแก่น เปรียบดินแดนใต้ปกครองได้กับซ่องโสเภณีขนาดมโหฬาร เป็นสวรรค์ของพวกค้างคาวดูดเลือดแห่งวงการธนาคาร ยางพารา และข้าว ชุกชุมด้วยการกดขี่ข่มเหงทั้งชาวพื้นเมืองและคนขาวที่ตกยาก การคอร์รัปชั่นและค้าของเถื่อนแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติ กล่าวกันว่าผลงานเรื่องนี้ทำให้ดูราสไม่ได้รับพิจารณาเสนอชื่อเป็นสมาชิกราชบัณฑิตยสภาฝรั่งเศสUn barrage contre le Pacifique ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว 2 ครั้ง ในชื่อ This Angry Age (1958) และ The Sea Wall (2008)
นวนิยายจากประสบการณ์จริงสุดระทึกในสงครามโลกครั้งที่ 2 ภารกิจบินลาดตระเวนเหนือเมืองอาร์ราสเพื่อถ่ายภาพแสนยานุภาพรถถังเยอรมันเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 1940 เมืองที่ถูกยึดครองกำลังถูกเผาลุกเป็นไฟ ในขณะที่พวกเขาต้องบินระดับต่ำฝ่าเข้าไปในดงกระสุนของศัตรู นับเป็นภารกิจอุทิศชีวิตที่ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ครับ ท่านผู้บัญชาการ” แม้ว่ากองบินนี้จะมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 17 ทีม จาก 23 ทีม!
รายละเอียด : ลาม็องต์ (L’amant)
รักแรกผลิที่ต้องคอยลอบเร้นพบกันของสาวน้อยชาวฝรั่งเศสกับหนุ่มใหญ่ชาวจีน เกิดขึ้นในดินแดนเวียดนามยุคที่ยังตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เขียนจากประสบการณ์ในวัยแตกสาวของดูราส นับเป็นนวนิยายยอดนิยมอันลือลั่นของเธอ เฉพาะในประเทศฝรั่งเศสขายได้มากกว่า 1,600,000 เล่มแล้ว ได้รับรางวัลทรงเกียรติ Prix Goncourt (1984) และ Prix-Ritz-Paris-Hemingway (1986) ได้รับการแปลแล้ว 44 ภาษา และได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อ The Lover (1992) โดยผู้กำกับฝีมือเยี่ยม Jean-Jacques Annaud นอกจากนี้ ยังได้รับการดัดแปลงเป็น Graphic Novel อีกด้วย
ภูมิหลังของดูราสกลายเป็นเชื้อที่ทำให้ผู้ประพันธ์กลืนไปกับผู้เล่า ท่วงทำนองแบบอัตชีวประวัติช่วงชิงพื้นที่ของการเป็นเรื่องเล่าแบบนวนิยาย ตัวผู้ประพันธ์นั้นโคลงเคลงไปมาระหว่างเรื่องจริงของตนเองในฐานะผู้เล่าเรื่องจากประสบการณ์ตรง และเรื่องจริงของตนในฐานะผู้แต่งเรื่องที่ลงลายเซ็นในแต่ละคำแต่ละประโยค พาผู้อ่านล่องไปกับเรือแพที่จะลอยข้ามฝั่ง ผ่านนานาทัศ