หนังสือเสบียงสู่รอมฎอน “ให้ศีลอดเป็นอาหาร ให้กุรอานเป็นชีวิต” คือบทสรุปของเนื้อหา ในหนังสือเล่มนี้ “การถือศลอด” ถือเป็นอ
“ให้ศีลอดเป็นอาหาร ให้กุรอานเป็นชีวิต” คือบทสรุปของเนื้อหา
ในหนังสือเล่มนี้
“การถือศลอด” ถือเป็นอาหารของผู้ศรัทธาโดยเฉพาะด้าน
จิตวิญญาณที่อัลลอฮ์ ตะอาลา ได้บัญญัติให้พวกเขาได้บริโภคอาหาร
ประเภทนี้ 1 ครั้งใน 1 ปี ตลอดระยะเวลา 29-30 วันของเดือน
รอมฏอน เป็นอาหารหลักประจำปีที่จะสร้างร่างกาย จิตใจ และสติ
ปัญญาที่เข้มแข็งให้มีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตในหนทางของอัลลอฮ์ ต่อสู้
กับอารมณ์ใฝ่ต่ำ และต่อกรกับการซักนำของชัยฎอนได้ตลอดทั้งปี
เช่นเดียวกับที่ “อัลกุรอาน” ถือเป็นชีวิตของผู้ศรัทธาอันครอบคลุมทุกย่างก้าว ตั้งแต่หัวจรดเท้า เช้ายันเย็น และเป็นจนตาย อัลลอฮ์ ตะอาลา ได้ประทานคัมภีร์เล่มนี้มาในฐานะทางนำสำหรับมนุษยชาติในช่วงเดือนรอมฏอน เพื่อให้มนุษย์นำไปใช้นำทางชีวิตตลอด
จนการกลับคืนสู่อัลลอฮ์ ตะอาลา และตราบจนวาระสุดท้ายของโลกนี้
“การถือศีลอด” จึงถูกกำหนดให้ปฏิบัติในช่วงเดือน
“อัลกุรอาน” ช่วงกลางวันถือศีลอดเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายหลักคือความยำเกรง
ช่วงกลางคืนยืนละหมาดเพื่อน้อมรับฟังคำบัญชาของอัลลอฮ์ การเตรียมตัวต้อนรับรอมฏอนเดือนแห่งความจำเริญที่อัลกุรอาน ถูกประทานลงมา จึงมิไช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติภารกิจใน
เวลา 1 เดือนเท่านั้น แต่เป็นการปรับปรุงโครงสร้างและเปลี่ยนแปลง
ระบบของชีวิตครั้งใหญ่เพื่อให้ใกล้ชิดกับอัลกุรอานมากขึ้น กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอมฏอนจึงเป็นกิจกรรมที่ตอบรับการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่นี้ นับแต่การเตรียมความพร้อมถือศีลอดและเริ่มศึกษาอัลกุรอาน
ช่วงเดือนชะอ์บาน, การดูจันทร์เสี้ยวเพื่อต้อนรับรอมฏอน, การดุอา เมื่อเห็นเดือน, การตั้งเจตนาในการถือศีลอด, การรับประทานอาหาร สุโซร์, การถือศีลอด, การงดเว้นสิ่งไร้สาระและเป็นบาปทั้งคำพูดและการกระทำ, การหมั่นอ่านและศึกษาอัลกุรอานพร้อมการใคร่ครวญ,
การรำลึกถึงอัลลอฮ์, การขอดุอาอ์ช่วงขณะและก่อนละศีลอด, การละศีลอดตามซุนนะฮ์นบี, การเลี้ยงอาหารคนถือศีลอด, การละหมาดยาม ค่ำคืนเพื่อรับฟังและใคร่ครวญอัลกุรอาน, การทำความดีงามมากมายเรื่อยไปถึงการเอียะอ์ติกาฟช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน
เพื่อแสวงหาคืนอัลก็อดร์, การจ่ายชะกาตฟิฎร์ ฯลฯ