ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

รายละเอียดสินค้า

ชื่อเรื่อง คู่กรรม ๒
นวนิยายที่เกี่ยวข้อง (ไม่จำเป็นต้องอ่านต่อเนื่อง):
(1) คู่กรรม
(2) คู่กรรม ๒
ประพันธ์โดย ทมยันตี
ประเภท: ความรัก/อิงประวัติศาสตร์
ปกอ่อน สองเล่มจบ
จำนวนหน้า: 702 หน้า
Edition: 11th (11/2558)
ISBN: 978-616-214-6329
นิยายสู่ละคร: พ.ศ. 2547 (ช่อง 3), ภาพยนต์: พ.ศ. 2539

เรื่องย่อ

หลังจากบทอวสานของโกโบริและอังศุมาลิน อังศุมาลินก็ได้ให้กำเนิด ‘กลินท์’ ลูกชายคนเดียว ถึงแม้สังคมไทยในสมัยนั้นเกิดกระแสต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นมา แต่อังศุมาลินก็พยายามปลูกฝังความเป็นโกโบริลงไปในกลินท์ ทำให้กลินท์เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในตัวเอง ไม่ยอมรับความจริงเรื่องเชื้อชาติญี่ปุ่นของเขา กลินท์ได้เป็นอาจารย์ฝึกสอนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขากลายเป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาที่ต่อต้านญี่ปุ่น แม้ ‘ชิตาภา’ อาจารย์สาวหัวสูงที่แอบชอบกลินท์จะเตือนอย่างไรก็ไม่อาจเปลี่ยนใจกลินท์ลงได้
กลินท์ได้พบกับ ‘ศราวณี’ นักศึกษาหัวรุนแรง ลูกคุณแก้วน้องสาวต่างมารดาของอังศุมาลิน ศราถูก ‘ป้ากบ’ ปลูกฝังให้เกลียดบ้านอังศุมาลินมาตั้งแต่เด็ก จึงนำเรื่องชาติกำเนิดของกลินท์มาเปิดเผยทำให้กลินท์โดนเหล่านักศึกษาต่อต้านอย่างรุนแรง แต่กลินท์ก็ไม่ได้โกรธศราวณี กลับคอยช่วยเหลือศราทุกครั้งที่เธอเดือดร้อน กลินท์ก็พาศรามารักษาที่บ้านในวันที่เธอบาดเจ็บ จนศราเห็นว่าครอบครัวอังศุมาลินไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เธอเคยรู้มา และความรักของคนทั้งคู่ก็ค่อยๆ ก่อกำเนิดขึ้นท่ามกลางความเกลียดชังที่มีอยู่ เรื่องราวความซับซ้อนมากขึ้น เมื่อกลินท์เริ่มรักศรา แต่ก็ยังมีชิตาภาอยู่ข้างๆ ศราวณีเองก็แอบมีใจให้กับกลินท์ แต่ภายในใจก็ยังคิดเรื่องความแค้นที่ครอบครัวของเธอปลูกฝังมา

คำนำ

ไม่ว่าสงครามครั้งใด ไม่เคยมีผู้ชนะที่แท้จริง
สงครามครั้งนั้น พรากคนที่เธอรัก…ลับลาหาย
คนไม่เคยผ่าน จะไม่มีวันรู้วันเข้าใจหรอกว่าความสูญเสียมันเป็นอย่างไร บ้านช่องสูญเสียยังสร้างใหม่ได้ แต่ความสูญเสียทางจิตใจนั้น มันยากจะสร้างทดแทน
น้ำตาแห้ง เหลือคราบ อาบรินไว้
แผลหัวใจ เหลือรอยยับ นับมิสิ้น
ชีวิตอยู่ เหลือแต่ร่าง รอฝังดิน
วิญญาณบิน ไปด้วยกัน วันเธอตาย

สําหรับบางคน…เวลาช่วยรักษาแผลหัวใจ เวลาอาจช่วยถนอมช่วยรักษาให้สิ้นความระทมทุกข์จากการสูญเสียได้ หากกับผู้หญิงคนนั้น เธอเอ่ยกับผู้เดินทางไปรอ ณ ดินแดนอันไกลโพ้นเสมอ…คุณรู้ ความเจ็บปวดนั้นไม่ได้พร่องลงหรอกยอดรัก หากเวลาทำให้เราชินกับมัน พอที่ ‘จะอยู่’ กับมันได้เท่านั้น
แผ่นดินของเธอ กับชาติของเขา
เราอาจเป็นศัตรูกัน สงครามเป็นหน้าที่
แต่เรื่องของเธอกับเขาคนนั้น คือ ความรัก
และผู้หญิงคนหนึ่ง ก็ยืนหยัดในรัก มั่นคง กระทั่งความตายมาพราก เธอก็ยังรักเขาไม่เคลื่อนคลาย ราวกับต้องการบอกให้โลกทั้งโลกรู้ว่า…ความรัก เมื่อรักก็ทั้งหมดด้วยหัวใจ ไม่เสียใจที่ได้รัก การได้รู้จักรัก รู้จักความเจ็บปวดจากการสูญเสีย ดีกว่าไม่เคยรักใครเลย และเราควรได้พูดคํานั้นกับใครสักคน อย่าให้สายเกินไป
“อนาตะ โออาอิชิ มาสุ…ฉันรักเธอเสมอ”
โกโบริ-อังศุมาลิน ความรักไม่มีวันตายใน ‘คู่กรรม’

“ผมไม่ไปไหนหรอก แล้วผมจะมารับคุณไว้บนดาวเจ้าหญิงทอหูก บนทางช้างเผือกโน้น”
ไม่ว่า ที่นี่ ฤาที่ไหน
หนทาง ไกลใกล้ ไม่หวั่น
จะตาม ทุกรอย ย่างก้าว
หากรู้ ยอดขวัญ อยู่ที่ใด
“คุณรู้…ท่ามกลางความทุกข์ มีความสุขแทรกอวล ในรอยเป็นกําสรวลย่อมเคยมีเสียงหัวเราะ และในเสียงหัวเราะเคยมีความเทวษมาแล้ว ไม่รู้ทุกข์ที่สุด จะรู้สุขที่สุดได้ไฉน ยอดรัก…อย่ากลัวไปเลย จงยืนหยัดอยู่กับที่ แล้วโลกมันจะหมุนไปเอง”

‘คู่กรรม ๒’ มาเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ในเรื่องที่กล่าวมา และสะท้อนประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของเมืองไทย จากฉากสงครามมหาเอเชียบูรพา ที่ญี่ปุ่นเปิดแนวรบกับสหรัฐอเมริกา และพันธมิตร ดั่งคำเอ่ยอ้าง ‘เอเชียเพื่อชาวเอเชีย’ สู่ฉากสงคราม คนยากจะหาคําตอบ
“แปลกนะลูก แม่รู้สึกเหมือน…” อังศุมาลินถอนใจยาว
“เหมือนเรากำลังอยู่ในภาวะสงคราม แต่มันไม่เหมือนสงครามที่ผ่านมา สงครามคราวนั้นมันเรื่องของต่างชาติ เราแยกมิตร แยกศัตรูได้ชัด เรารู้ว่าเรารบกับใคร แต่ตอนนี้ ‘เรา’ ลูก…เรา รบกันเอง ดูเถอะ แค่ความคิดที่แตกต่างกัน คนชาติเดียวกัน แยกพวกฆ่ากัน”
เสียงถอนหายใจทอดยาว หนักหน่วงกว่าครั้งใด
“ไม่ว่าใครทั้งนั้นแหละลูก จะฝ่ายถูก ฝ่ายผิด ต่างมีคนที่รักคอยอยู่ที่บ้าน คนลงมือฆ่ากันไม่ค่อยรู้ แต่คนแสวงหาอํานาจจากการฆ่ามีทั้งสองฝ่าย คนเหล่านั้นจะเหลือ แต่คนไม่รู้เรื่องจะตาย โยคอยดู…คนสองพวกนี้จะมีชีวิต ได้นั่งเถียงกันจนแก่ตาย…ฝ่ายกูชอบธรรม…พวกกูวีรชน…”
ในสงคราม ในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าพ่ายแพ้ ฤามีชัย
ในหยาดหมึกที่บันทึก ในความรู้สึกที่จดจํา
ล้วนปนด้วยคราบน้ำตา!

นี้คือ ‘คู่กรรม ๒’ วรรณกรรมเรื่องเยี่ยมอีกชิ้นหนึ่งของทมยันตี ซึ่งนอกจากเนื้อหาอันดําเนินต่อจาก ‘คู่กรรม’ และการดําเนินเรื่องโดยอิงเหตุการณ์จริงถึงช่วง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ แล้วยังนําเสนอความคิดหลายมุมมองที่น่าศึกษา อันสามารถนําไปขยายแง่มุมได้หลากหลาย เราจะเห็นว่า แม้เหตุการณ์จะแปรเปลี่ยนตามยุค ประชาคมเติบโต สังคมก้าวหน้า เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจําวัน ข่าวสารยากจะปิดกั้น แต่ประวัติศาสตร์ก็ยังเดินมาย้ำ…ซ้ำรอย จนกล่าวได้ว่า…
ต่อให้เจริญแค่ไหน ต่อให้วิวัฒน์พัฒนาอย่างไร
ก็ยากจะก้าวพ้น หากยังไม่ข้ามจากวัตถุ สู่สำนึกหรือจิตใจ
สาระสําคัญของมนุษย์ ไม่ได้อยู่ที่ ‘เป็นคน’ อย่างเดียว ‘สํานึก’ ต่างหากยิ่งใหญ่ มนุษย์ที่แท้มิใช่แครูป ลักษณะ ฤาร่ำรวยล้นฟ้า ตําแหน่งการงานสูงส่ง หากจิตสํานึกภายในเท่านั้น แยกมนุษย์ที่แท้แตกต่างกว่าคนอื่น
คําว่า ‘มนุษย์’ เกิดขึ้นก่อนคําว่า ‘เชื้อชาติ’
ฉะนั้นในความเป็นมนุษย์ย่อมเท่าเทียมกัน แต่สิ่งที่ทําให้มนุษย์แตกต่างกันคือ ใครจะทํา ‘หน้าที่’ ของตนได้สมบูรณ์

จงทําหน้าที่ด้วยความรัก
เฉกเช่นในยามรัก ที่เราทําทุกอย่างให้กัน
ด้วยหัวใจ


รักชนก นามทอน
บรรณาธิการ
เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี
ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี
ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี
ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง คู่กรรม 2 / ทมยันตี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *