คุณสมบัติทางเทคนิคที่สำคัญมีดังนี้
๐ เข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ Arduino UNO R4 WiFi
๐ ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์ R7FA4M1 ในอนุกรม RA4M1 จาก Renesas อันเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิตในตระกูล ARM Cortex M4 ความถี่สัญญาณนาฬิกา 48MHz มีหน่วยความจำโปรแกรมแบบแฟลช 256 กิโลไบต์ โปรแกรมได้ 10,000 ครั้ง มีหน่วยความจำอีอีพรอม 8 กิโลไบต์ โปรแกรมใหม่ได้ 100,000 ครั้ง มีหน่วยความจำข้อมูลแรม 32 กิโลไบต์ ซึ่งมากกว่าการใช้ชิป ATmega328P เดิมถึง 8 เท่า
๐ สัญญาณนาฬิกาหลัก 48MHz จากวงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกาภายในตัวชิป
๐ มีจุดต่อพอร์ต USB แบบ USB-C สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมและสื่อสารข้อมูลกับคอมพิวเตอร์
๐ มีสวิตช์ RESET การทำงาน
๐ มีจุดต่อพอร์ตตามมาตรฐานของ Arduino UNO ระดับสัญญาณลอจิก 5V
๐ มีจุดต่อแบบ IDC ตัวเมีย ที่จัดสรรตำแหน่งขาพอร์ตให้ตรงกับ Arduino Uno R4 WiFi รวม 20 จุด แบ่งเป็นขาพอร์ตดิจิทัล 14 จุด (ขาพอร์ตหมายเลข D0 ถึง D13) และขาพอร์ตแบบดิจิทัลหรือแอนะล็อก (กำหนดได้) 6 จุด (หากใช้เป็นขาอินพุตแอนะล็อกจะกำหนดขาพอร์ตเป็นA0 ถึง A5 และถ้าใช้เป็นขาพอร์ตดิจิทัลจะกำหนดหมายเลขของขาพอร์ตเป็น D14 ถึง D19)
๐ มีจุดต่อแบบ IDC 3 ขาตัวผู้ (ขาสัญญาณ, ไฟเลี้ยง และกราวด์) รวม 20 จุด สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้สะดวกขึ้น แบ่งเป็นขาพอร์ตดิจิทัล 14 จุด (ขาพอร์ตหมายเลข D0 ถึง D13) และขาพอร์ตแบบดิจิทัลหรือแอนะล็อก (กำหนดได้) 6 จุด (หากใช้เป็นขาอินพุตแอนะล็อกจะกำหนดขาพอร์ตเป็นA0 ถึง A5 และถ้าใช้เป็นขาพอร์ตดิจิทัลจะกำหนดหมายเลขของขาพอร์ตเป็น D14 ถึง D19) – ความสามารถนี้ไม่มีใน Arduino Uno R4 WiFi
๐ การทำงานกับสัญญาณแอนะล็อก ขาพอร์ตอินพุตทั้ง 6 ขารองรับสัญญาณในย่านแรงดันไฟตรง 0 ถึง 5V วงจรแปลงสัญญาณแอนะล็อกของตัวไมโครคอนโทรลเลอร์หลัก RA4M1 มีความละเอียดสูงสุด 14 บิต และมีขาพอร์ตเอาต์พุตของวงจรแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะล็อกจากตัวไมโครคอนโทรลเลอร์หลัก RA4M1 อีก 1 ช่อง มีความละเอียดในการแปลงสัญญาณสูงสุด 12 บิต
๐ มีจุดต่อระบบบัส 2 สาย (I2C) เพื่อขยายระบบ ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ PH4 จัดขาแบบ GROVE (ไม่มีใน Arduino Uno R4 WiFi – ซี่งใช้เป็นคอนเน็กเตอร์แบบ QWiiC แทน) จึงทำให้เชื่อมต่อกับมินิบอร์ดหรือตัวตรวจจับที่ใช้การเชื่อมต่อผ่านบัส I2C ได้ง่าย และใช้สายเชื่อมต่อราคาประหยัด จัดหาได้ไม่ยาก
๐ มีจุดต่อบัส SPI เพื่อขยายระบบ ใช้คอนเน็กเตอร์ IDC ตัวผู้ 6 ขา และใช้ในการโปรแกรมเฟิร์มแวร์ของตัวไมโครคอนโทรลเลอร์หลักด้วย (จุดต่อ ICSP : In-Circuit Serial Programming)
๐ มีขาพอร์ตบัส CAN โดยต้องต่อวงจรเชื่อมต่อบัส CAN เพิ่มเติม
๐ มีโมดูล WiFi ที่ใช้โมดูลไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3 ติดต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์หลักโดยใช้พอร์ตสื่อสารข้อมูลอนุกรม UART ผ่านวงจรแปลงระดับสัญญาณลอจิก 3.3V รองรับ WiFi 802.11 b/g/n standard (หรือ Wi-Fi® 4) ที่มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลระดับบิตสูงถึง 150 Mbps ใช้ย่านความถี่ 2.4GHz และรองรับบลูทูธ 5
๐ มีวงจร LED ต่อกันแบบเมตริกซ์ 12 x 8 ดวง
๐ ใช้ภาคจ่ายไฟแบบสวิตชิ่งที่รับแรงดันอินพุตจากแจ๊กอะแดปเตอร์ได้ตั้งแต่ 6 ถึง 24V ใช้กับแบตเตอรี่ได้ และยังใช้ไฟเลี้ยงจากพอร์ต USB ได้ด้วย โดยภาคจ่ายไฟของบอร์ดให้แรงดันไฟตรงเอาต์พุต 2 ค่าคือ +5V และ +3.3V สำหรับเลี้ยงวงจรทั้งหมด
๐ ทำงานกับสัญญาณดิจิทัลและแอนะล็อกที่ระดับสัญญาณ 0 ถึง 5V สำหรับขาพอร์ตทั้งหมด ยกเว้นที่จุดต่ออุปกรณ์บัส I2C ที่ใช้ระดับสัญญาณ 0 ถึง 3.3V โดยมีวงจรแปลงระดับสัญญาณลอจิกช่วยปรับระดับสัญญาณให้เหมาะสม
๐ พัฒนาโปรแกรมด้วย Arduino IDE 2.x ไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์ USB เพิ่มเติม
๐ รองรับการพัฒนาเป็นอุปกรณ์ IoT ได้สะดวก ใช้งานกับ Arduino IoT Cloud, Blynk IoT, NETPIE และคลาวด์เซิร์ฟเวอร์อื่นๆ ได้ ขึ้นกับการใช้ไฟล์ไลบรารีมาช่วยในการพัฒนาโปรแกรม
ประกอบด้วย
๐ บอร์ด i-Duino R4
๐ สาย USB-C แบบ DATA
#Arduino #EducationBoard #InternetofThings #IoT