ชุดทดสอบอาหารGPOองค์การเภสัชกรรม ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหารและสารเคมี(ผงกรอบ) 50 เทสต่อกล่อง
รายละเอียดสินค้า
ชุดทดสอบบอแรกซ์ (ผงกรอบ)ในอาหาร และสารเคมี
“ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม GPO”
– ใช้ทดสอบหาสารบอแร็กซ์ หากไม่แน่ใจในอาหารนั้น ๆ
– สามารถนำไปตรวจสอบหาสารบอแร็กซ์ได้ด้วยตนเอง
– ทราบผลได้อย่างรวดเร็วและผลการตรวจมีความแม่นยำสูง
ตัวอย่างอาหารที่มักตรวจพบบอแรกซ์
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น หมูบด ปลาบด ทอดมัน ลูกชิ้น หมุสด เนื้อสด ไส้กรอก เป็นต้น
กลุ่มผลไม้เช่น ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง
อุปกรณ์ในชุดทดสอบ
1.ถ้วยพลาสติก 1 ใบ
2.หลอดหยด 1 อัน
3.ช้อนพลาสติก 1 คัน
4.กระดาษขมิ้น 50 การทดสอบ
5.น้ำยาทดสอบบอแร็กซ์ 1 ขวด
ขั้นตอนการทำการทดสอบ
1 สับอาหารออกเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ
2 ตักอาหาร ประมาร 1 ช้อน ใส่ลงในถ้วย
3 เติมน้ำยาทดสอบบอแร็กซ์ลงบนอาหาร จนชุ่ม กวนให้เข้ากัน
4 จุ่มกระดาษทดสอบขมิ้นลงในถ้วยทดสอบ
การแปลผล
นำกระดาษชมิ้นที่ผ่านการจุ่มในอาหารตัวอย่างแล้ว วางจานกระเบื้อง หรือบนแผ่นสไลด์ นำไปตั้งไว้กลาง
แดด นานประมาณ 10 นาที
ถ้ากระดาษขมิ้นมีการเปลี่ยนสี ไปเป็นสี ส้ม จนถึง สีแดง แสดงว่า ในอาหารนั้นมีสารบอแร็กซ์เจือปนอยู่
❗หลักการ การบริโภคอาหารที่มีสารบอแรกซ์เจือปนจะทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขจึงห้ามนำสารบอแรกซ์มาเจือปนในอาหาร แต่ปัจจุบันยังตรวจพบสารบอแรกซ์ในอาหารหลายชนิด ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้พัฒนาชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหารขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปตรวจสอบสารบอแรกซ์ในอาหารนอกห้องปฏิบัติการได้ ทราบผลได้รวดเร็วและมีความแม่นยำสูง
❗ประโยชน์ของชุดทดสอบ
ใช้ตรวจสอบบอแรกซ์ในอาหารและสารเคมีที่ใช้ผสมอาหาร ซึ่งจะทราบผลได้ทันที เพื่อเป็นแนวทางเฝ้าระวังความปรอดภัยของอาหาร
❗จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้/ชุดชุดตรวจ ชนิด ตรวจได้ 50 ตัวอย่าง อายุการใช้งานนับจากวันที่ผลิต 2 ปี
❗ความไวของชุดทดสอบระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ในอาหาร)ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ในสารเคมี) ขั้นตอนการทดสอบชุดทดสอบบอแร็กซ์ในอาหารและสารเคมี (ผงกรอบ)