ลูกของฉันกำลังคิดอะไรอยู่ จิตวิทยาเด็กเชิงปฏิบัติสำหรับพ่อแม่สมัยใหม่ / ทานิธ แครีย์ (TANITH CAREY) DK วารา
จิตวิทยาเด็กเชิงปฏิบัติสำหรับพ่อแม่สมัยใหม่
ผู้เขียน:
ทานิธ แครีย์ (TANITH CAREY)
นักจิตวิทยาคลินิก
ดร.อังการาด รัดคิน (DR ANGHARAD RUDKIN)
หนังสือเล่มนี้เป็นแนวทางใหม่ในการมองโลกจากมุมมองของเด็ก และพิจารณาตนเองในฐานะพ่อแม่ไปพร้อม ๆ กัน หนังสือเล่มนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยให้พ่อแม่ ตีความพฤติกรรมของลูกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
ตลอดเส้นทางการเป็นพ่อแม่ ย่อมพบเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาอยู่เสมอ หนังสือเล่มนี้ออกแบบมาเพื่อบีบอัดเนื้อหาทางด้านจิตวิทยาเด็ก ประสาทวิทยาศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุดให้ออกมาเป็นหมวดหมู่แบบพร้อมใช้งานเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ในขณะนั้น แต่นอกจากคำแนะนำที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ทันที
หนังสือเล่มนี้ยังตระหนักด้วยว่าบางสถานการณ์จำเป็นต้องมีวิธีการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นแต่ละสถานการณ์จึงมาพร้อมกับเคล็ดลับเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำในระยะยาว
พ่อแม่ของเด็กเล็กคือจักรวาลทั้งหมดของลูก พ่อแม่ปฏิบัติต่อลูกอย่างไรจะส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกที่พวกเขามีต่อตนเอง
ทุกคนมาเป็นพ่อแม่จากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมือนกัน เพราะจุดเริ่มต้นคือวัยเด็กของคุณเองแตกต่างกัน คุณอาจเลี้ยงลูกตามแบบการเลี้ยงดูที่คุณได้รับโดยที่คุณรู้สึกว่ามันใช้ได้ผลสำหรับคุณ หรือคุณอาจพยายามให้ลูกของคุณได้รับการเลี้ยงดูในแบบที่คุณคาดหวัง
“แนวทางการเลี้ยงดูลูก”
หลักเกณฑ์พื้นฐานไม่กี่ข้อนี้อาจเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์เพื่อเตือนตัวเองถึงวิธีปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
• เป็นแบบอย่างที่ดี เด็กจะเรียนรู้ได้มากที่สุดด้วยการเฝ้าดูพ่อแม่อย่างใกล้ชิดและเลียนแบบพ่อแม่ พ่อแม่อาจเป็นอิทธิพลที่ใหญ่ที่สุดเพียงอย่างเดียวที่ส่งผลว่าเด็กจะโตมาเป็นอย่างไร ดังนั้นจงประพฤติตนในลักษณะที่คุณยินดีให้ลูกเลียนแบบ
• รอให้สงบ เมื่อเด็ก ๆ ตื่นกลัว หงุดหงิด หรือโกรธ จะกระตุ้นสมองส่วนดั้งเดิมของพวกเขาที่เรียกว่า อะมิกดาลา ซึ่งมีหน้าที่ตอบสนองต่อภัยคุกคาม ส่งผลให้ร่างกายและสมองของลูกคุณเต็มไปด้วยฮอร์โมนความเครียด ในขณะนั้นลูกของคุณจะไม่ได้ยินสิ่งที่คุณพูด สิ่งที่คุณต้องทำเป็นอย่างแรกคือช่วยลูกทำให้การตอบสนองต่อความเครียดสงบลง แทนที่จะกระตุ้นด้วยการลงโทษหรือตะโกนอย่างรุนแรงเกินไป
• ปลอบตนเองให้สงบด้วยเช่นกัน เมื่อคุณรู้สึกว่าถูกกระตุ้นโดยพฤติกรรมของลูก คุณจะสูญเสียความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำ หากคุณรู้สึกว่าตัวเองเข้าสู่โหมดการต่อสู้หรือการหนี จงยอมที่จะใช้เวลาสักครู่เพื่อก้าวออกไปจากตรงนั้นก่อนเพื่อจะได้กลับมาควบคุมตนเองได้อีกครั้งก่อนที่จะทำขั้นตอนต่อไป
• ยอมรับอารมณ์เชิงลบของลูกเหมือนที่ยอมรับอารมณ์เชิงบวก เมื่อเราได้ยินลูก ๆ ของเราแสดงความรู้สึกขุ่นเคืองใจ เช่น ความเกลียดชังหรือความโศกเศร้า ในฐานะที่เป็นพ่อแม่ที่เต็มเปี่ยมด้วยความรัก คุณมักจะต้องการพูดคุยกับพวกเขาหรือบอกพวกเขาว่าอย่ารู้สึกแบบนั้น จงเตรียมพร้อมที่จะรับรู้ความรู้สึกเหล่านั้นแทนที่จะละเลย เพื่อให้ลูกของคุณสามารถเกิดพัฒนาการและจัดการกับมันได้
ตามหลักการแล้วโปรดจำไว้ว่าสิ่งที่เด็กต้องการมากที่สุดคือความเข้าใจจากผู้ใหญ่ที่ดูแลพวกเขา
ตัวอย่างสารบัญ
บทที่ 1 คุณต้องการให้อะไรกับลูกของคุณ
• ประสบการณ์ในวัยเด็กของคุณเอง
• คุณค่าของคุณคืออะไร
• การให้ลูกของคุณเป็นศูนย์กลาง
• พ่อแม่ที่ดีแบบพอดี
บทที่ 2 เด็กมีพัฒนาการอย่างไร
• เด็กเรียนรู้อย่างไร
• สมองของลูกคุณ
• พัฒนาการสำคัญที่เกิดในช่วงวัย: 2-3 ปี
• พัฒนาการสำคัญที่เกิดในช่วงวัย: 4-5 ปี
• พัฒนาการสำคัญที่เกิดในช่วงวัย: 6-7 ปี
บทที่ 3 เด็กวัย 2-3 ปี
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ การออกไปทานข้าวนอกบ้าน
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ การทุบตีและการกัด
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ความขี้อาย
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ปัญหาการนอนหลับ
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ การสร้างเวลาที่มีคุณภาพ
บทที่ 4 เด็กวัย 4-5 ปี
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ การย้ายบ้าน
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ การเดินทางโดยรถยนต์
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ การรับมือกับลูกที่ไม่สบาย
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ งานเลี้ยงวันเกิด
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ การแยกกันอยู่และการหย่าร้าง
บทที่ 5 เด็กวัย 6-7 ปี
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ มารยาทที่ดี
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ความกดดันที่โรงเรียน
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ความสำคัญของเงิน
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ โลกดิจิทัล
• แนวทางการรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ กิจกรรมหลังเลิกเรียน
……………………………………………
หนังสือ : ลูกของฉันกำลังคิดอะไรอยู่
ราคา 750 บาท
(ปกอ่อน, พิมพ์สี่สีทั้งเล่ม, กระดาษปอนด์, 256 หน้า)