คาลารีส สารมีโซไตรโอน + อะทราซีน ขนาด 1 ลิตร สารคุมและกำจัดวัชพืชในข้าวโพดและอ้อย กำจัดวัชพืชใบแคบ และใบกว้าง
จุดเด่น คาลารีส
คาลารีส คือสารคุมและกำจัดวัชพืชในข้าวโพดและอ้อย กำจัดวัชพืชใบแคบ และใบกว้างได้อย่างดีเยี่ยม ใช้งานง่าย ไม่ต้องผสมสารอื่น มีสารเสริมประสิทธิภาพในตัว เห็นผลไว คุมวัชพืชได้นาน และมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อพ่นในระยะวัชพืชขนาดเล็ก
ข้าวโพด ใช้หลังวัชพืชงอก : วัชพืชประเภทใบแคบ เช่น หญ้าดอกขาว
วัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น ผักเบี้ยใหญ่
อัตรา : 480-560 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 60-80 ลิตรพ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ หรือ
อัตรา 120 – 140 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 15 – 20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน
วิธีการ: พ่นหลังปลูกข้าวโพดที่ระยะ 7 – 10 วัน
อ้อย ใช้หลังวัชพืชงอก : วัชพืชประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนกา และ หญ้านกสีชมพู
ประเภทใบกว้าง เช่น ผักเบี้ยใหญ่ และผักเบี้ยหิน
อัตรา : 500-600 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 60-80 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ หรือ
อัตรา 125-150 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 15-20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน
วิธีการ: พ่นหลังปลูกอ้อย ที่ระยะ 7 – 10 วัน
วิธีเก็บรักษา : ต้องเก็บ คาลารีส ในภาชนะเดิมที่ปิดแน่น มีฉลากติดอยู่ และไม่ให้ถูกแสงแดด สถานที่เก็บต้องแห้งและเย็น ห่างไกลจากเด็ก อาหาร น้ำดื่ม สัตว์เลี้ยง และเปลวไฟ คำเตือน :คาลารีส เป็นวัตถุอันตราย ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ผู้ใช้ต้องปฏิบัติดังนี้ : • ห้าม ดื่มน้ำ กินอาหาร หรือสูบบุหรี่ในขณะปฏิบัติงาน ห้าม เทสารที่เหลือหรือล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ เครื่องพ่นสารลงในแม่น้ำ ลำคลอง หรือบริเวณใกล้เคียง เมื่อใช้สารฯ หมดแล้ว ห้าม ใช้ไฟเผาภาชนะบรรจุ หรือนำกลับไปใช้อีก ห้าม เด็กและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่กำลังพ่นสาร• ขณะ • ผสม ต้อง สวมถุงมือยาง และหน้ากากเพื่อป้องกันมิให้สารเข้มข้นถูกผิวหนัง และกระเด็นเข้าตา การผสมให้ใช้ไม้กวน ขณะพ่นสาร ต้อง อยู่เหนือลมเสมอ และ ควรสวมถุงมือยาง และหน้ากาก ต้อง ล้างมือและล้างหน้าให้สะอาดด้วยสบู่ และน้ำก่อนกินอาหาร ดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่ หลังจากทำงานเสร็จแล้ว ต้อง อาบน้ำ สระผม ปลี่ยนเสื้อผ้า และซักชุดที่สวมทำงานให้สะอาด ภาชนะบรรจุเมื่อใช้หมดแล้วให้กลั้วล้างด้วยน้ำ 3 ครั้ง และรวม เอาน้ำล้างไปใช้ผสมพ่นสาร กำจัดภาชนะบรรจุ โดยทำลายแล้วฝังดิน หรือรวมทิ้งให้ปลอดภัย • ระวัง อย่าให้เข้าปาก ตา จมูก หรือถูกผิวหนังและเสื้อผ้า ระวัง ความเป็นพิษของสารต่อพืชอื่นๆ ที่ปลูกร่วม ปลูกใกล้เคียง หรือปลูกตามหลัง • การใช้สารกำจัดวัชพืช ซึ่งอยู่ในอักษรกลุ่มเดียวกัน ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดความต้านทานของวัชพืช • ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อตา และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง • เป็นพิษต่อปลา และสัตว์น้ำอื่นๆ ต้องระวังการชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ อาการเกิดพิษ : • ถ้าสัมผัสหรือสูดดม จะทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวหนัง ตา ช่องทางหายใจ• หากกลือกินเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย พิษมากจะทำให้กล้ามเนื้อ อ่อนแรง ชัก การแก้พิษเบื้องต้น : ต้อง สวมถุงมือยาง และหน้ากากป้องกันการสัมผัสสารพิษ ขณะให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย • ถ้าเกิดอาการพิษเนื่องจากการสูดดม รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้ และให้พักผ่อนในที่ที่มีอากาศถ่ายเท สะดวก หากอาการไม่ทุเลา รีบไปพบแพทย์ • ถ้าเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากนาน 15 นาที หากอาการไม่ทุเลา รีบไปพบแพทย์ • ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยสบู่และน้ำจนสะอาด ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบอาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที • ถ้าเข้าปากให้รีบบ้วนน้ำล้างปาก หากกลืนกิน ห้าม ทำให้อาเจียน และ ห้าม ให้น้ำ เครื่องดื่ม หรืออาหารใดๆ ทั้งสิ้น รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมภาชนะบรรจุและฉลาก คำแนะนำสำหรับแพทย์ : • รักษาตามอาการ • หากกลืนกินเข้าไปจำนวนมากให้ล้างท้องแล้วตามด้วย activaed charcoal 25 g ผสมน้ำ 300 ml และ sorbitol 70% 1-2 ml/kg น้ำหนักตัว (เด็กต่ำกว่า 12 ปี ลดขนาดเป็น sorbitol 35% 1.5-2.3 ml/kg น้ำหนักตัว)