เห่เรือ และเรือพระราชพิธี มาจากไหน? • สุจิตต์ วงษ์เทศ (แดง)
เห่เรือ เป็นประเพณีเพิ่งสร้างใหม่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราวแผ่นดิน ร.4 ถึง ร.5
สมัยโบราณ ทั้งราชสำนักและราษฎรน่าจะมีเห่เรือ
ขอขมาแม่พระคงคาให้น้ำลดลงตามความเชื่อในศาสนาผี เพื่อชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวในนาที่สุกเต็มรวง
แต่ราชสำนักสมัยโบราณไม่มีเห่เรือขณะขบวนเรือเคลื่อนที่ ในการเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งมีพระเจ้าแผ่นดินประทับบนเรือพระที่นั่ง
ส่วนกาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมา
ธิเบศร์) ไม่พบหลักฐานว่าเคยใช้เห่เรือในสมัยอยุธยา (เหมือนที่มีสมัยปัจจุบัน)
เรือพระราชพิธี มีกำเนิดและความเป็นมาหลายพันปีมาแล้ว จากเรือศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมทางศาสนาผีของคน
ทุกชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์
หลังรับวัฒนธรรมอินเดีย จึงปรับเรือศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาผีเข้ากับความเชื่อที่รับมาใหม่ทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ โดยทำหัวเรือเหมือนรูปสัตว์หิมพานต์ ซึ่งเป็นพาหนะของเทพเจ้า
เรือรูปสัตว์ไม่ใช่เรือรบ และไม่ได้ดัดแปลงจากเรือรบ จึงไม่เคยใช้ออกรบทัพจับศึกในสงคราม (ตามคำอธิบายของทางการ)