เรียนรู้ เข้าใจ ออกแบบ สร้างสมาร์ทฟาร์ม ด้วย แพลตฟอร์ม HandySense #หนังสือศึกษาระบบ IOT#บริษัทอีทีทีจำกัด
หนังสือ เรียนรู้ เข้าใจ ออกแบบ สร้างสมาร์ทฟาร์ม ด้วย แพลตฟอร์ม HandySense
– การจะเริ่มต้นศึกษาระบบ IoT ขึ้นมาใชง้านจริงซักระบบนั้ /คนจะมีรายละเอียดต่างๆ ทีเกี่ยวข้องมากมาย และเป็นเรื่องยาก สำหรับผู้เริ่มต้นที่สนใจอยากจะศึกษาทำความเข้าใจด้วยตัวเอง โดยเฉพาะระบบที่เป็นแพลตฟอร์มซึ่งต้องทำการออกแบบและพัฒนาเองทั้งหมดทุกส่วนทั้งฝั่งของ device และ server หนังสือเล่มนี้จะนำพาผู้สนใจศึกษาการทำงานของ platform ของ HandySense ที่พัฒนาชึ้นโดย เนคเทค และ สวทช. ทำงานอยู่บน platform ของ NETPIE 2020 โดย HandySense เป็นเหมือนตัวอย่าง Project Template แบบ Open Source ของการพัฒนาระบบ IoT มาใช้สำหรับหรับงานด้านเกษตร หรือสมาร์ทฟาร์ม ซึ่งมีความสมบูรณ์แบบครบถ้วนมากผู้สนใจสามารถนำพิมพ์เขียว และ Source Code ไปศึกษาทำความเข้าใจและพัฒนาใช้งานต่อได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หนังสือเล่มนี้จะพาผู้อ่านศึกษาทำความเข้าใจถึงกลไกลการทำงานของ HandySense เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงแนวคิดในการออกแบบสร้าง platform ว่ามีการออกแบบ protocol การสื่อสาร เพื่อรับส่งข้อมูลระหว่าง device กับ platform อย่างไรกันบ้าง ลักษณะของการกำหนด topic เพื่อทำหน้าที่เป็น คำสั่งในการสั่ง งาน device การออกแบบกำหนดข้อมูล payload เพื่อผ่านค่าการทำงานของคำสั่ง การถอดรหัสความหมายของคำสั่ง และ แปลความหมาย payload ทีใช้กำหนดการทำงานของคำสั่งเพื่อสั่งงาน Output การกำหนดค่า Config การทำงานของ device มีวิธีการทำอย่างไร
แนวทางในการเรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ เนื้อหาการเรียนรู้ของหนังสือเล่มนี้ จะเรียงลำดับหัวข้อความรู้ ในการเรียนรู้เป็นลำดับ จากจุดเริ่มต้นไปถึงจุดสิ้นสุด ในลักษณะของการเรียนรู้แบบวิศวกรรมย้อนรอย คือ นำระบบการทำงานที่คนอื่นออกแบบสร้างไว้แล้วมาศึกษา ทำความเข้าใจ ถึงหลักการทำงาน และ วิธีการเขียนโปรแกรม โดยแยกเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ ทีละชิ้นส่วนแล้วจึงนำชิ้นส่วนทั้งหมดมาประกอบรวมเข้าด้วยกันเป็น project code ที่สมบูรณ์แบบและทำงานได้ เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ผู้ศึกษา อาจจะเริ่มต้นจาก การนำ อุปกรณ์ ที่บรรจุ firmware ที่เสร็จสมบูรณ์และสามารถทำงานได้แล้ว มาติดตั้งใช้งาน โดยอาจจะเริ่มจากการสร้างฟาร์ม การนำ device ไปติดตั้งเป็นอุปกรณ์ในฟาร์ม แล้วทดลองใช้งาน สั่งงาน กำหนดค่าการทำงานอัตโนมัติต่างๆ สั่งเปิดปิดการทำงานผ่านสวิตช์จาก dashboard สั่งตั้งเวลาเปิดปิดการทำงานตามเวลา สั่งตั้งค่าการทำงานอัตโนมัติจากค่าพิกัด ต่ำสุด สูงสุด ของ sensor เพื่อศึกษาทำความเข้าใจ function การทำงานของ device ก่อน จากนั้นจึงเริ่มศึกษารายละเอียดแต่ละหัวข้อ เป็นการเฉลยถึงวิธีการออกแบบและเขียนโปรแกรมว่าแต่ละ function การทำงานมีกลไกลการรับส่งข้อมูลคำสั่ง การถอดรหัสคำสั่ง อย่างไร เช่น การสั่งงาน relay จากสวิตช์หน้า dashboard เมื่อผู้ใช้กดสวิตช์สั่งงานแล้ว platform ส่งคำสั่งมาสั่งงาน device ด้วย topic แบบไหน คำสั่ง on/off ที่กำหนดมาใน payload มีรูปแบบเป็นอย่างไร และเรามีวิธีการ ถอดรหัสคำสั่ง เพื่อแปลความหมายแล้วไปสั่งงาน output เพื่อให้ on หรือ off ได้อย่างไร แล้ว device มีการตอบรับกลับไปยัง platform เพื่อให้ dashboard รู้ว่า device ได้รับคำสั่งและปฏิบัติงานตามคำสั่งเรียบร้อยแล้ว เมื่อสามารถเข้าใจกลไกลการทำงานของสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ครบถ้วนหมดแล้ว จึงค่อยเข้าสู่ขั้นตอนของการประยุกต์การใช้งาน การเพิ่ม sensor การสร้าง dashboard หรือ การเพิ่มเติม function การทำงานต่างๆต่อไป
– ปกอ่อน พิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ จำนวน 280 หน้า
– ขนาดหนังสือ 26 X 19 CM